>

ชิวาวา


ชิวาวา (Chihuahua) จัดได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และในปัจจุบันสุนัขพันธุ์ชิวาวากำลังเป็นที่นิยมกันมากของเหล่าผู้ที่รักสุนัข เนื่องด้วยขนาดตัวของมัน อุปนิสัยผู้คนส่วนใหญ่จึงนิยมนำเจ้าชิวาวามาเลี้ยง

น้องชิ หรือว่า ชิวาวา จัดอยู่ในประเภท Toy ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านและนิยมนำสุนัขชิวาวามาประกวดในด้านความสวยงาม โดยธรรมชาติของมันแล้ว เจ้าชิวาวามักเป็นสุนัขที่เงียบ มีความจงรักภักดีต่อเจ้าของ และมันจะมีอัธยาศัยที่ดีกับสุนัขตัวอื่นๆในบ้าน รวมแม้กระทั่งแมวหรือนกด้วย ยกเว้นเมื่อมันถูกรบกวนหรือทำให้มันตกใจ มันจะเห่า สุนัขพันธุ์ชิวาวาถือเป็นสุนัขที่แกร่งและมีอายุที่ยืนยาว

น้องชิในปัจจุบันมีทั้งหมด 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ขนสั้นและพันธุ์ขนยาว ชิวาวาพันธุ์ขนสั้น(ขนเกรียน) เหมาะสำหรับบุคคลที่แพ้ขนสุนัข ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว จะมีลักษณะมีขนเป็นฝอยๆ ตามหูและขา ขนตามลำตัวจะอ่อนนุ่มเป็นมัน หางมีลักษณะเป็นพู่ ทั้ง 2 สายพันธุ์นั้นต่างก็มีอุปนิสัยตรงกัน มีความว่องไว กะทัดรัด ปราดเปรียว ร่าเริง เฉลียวฉลาดมาก ฝึกสอนง่าย สมเหมาะสำหรับที่จะนำมาเลี้ยงในบ้านที่มีเนื้อที่จำกัดโดยเฉพาะบ้านในเมืองใหญ่ๆ
การดูแลสุขภาพทั่วไปของน้องชิ ผู้เลี้ยงควรดูแลสุขภาพของน้องชิอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วันโดยเราสามารถตรวจสอบร่างกายน้องชิโดยดูจากอวัยวะส่วนๆ ต่างเช่น

ตา :: ตาเป็นสิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด (ไม่ใช่ยาสีฟันนะจ๊ะ ^^v) ตาของชิวาวาที่มีสุขภาพดี จะมีแววตาที่แจ่มใส ไม่ขุ่นมัวหรือตาแดง ไม่ควรจะมีขี้ตาแฉะหรือเกรอะกรัง รวมทั้งน้ำตาไหลเป็นคราบ (T.T น่าสงสารอ่ะ) ถ้าหากพบเห็นอาการดังกล่าวนั่นแสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติกับน้องชิของเราแล้ว หากผู้เลี้ยงที่ยังไม่มีเวลาพาน้องชิไปหาหมอ เราก็สามารถดูแลน้องชิในขั้นเริ่มต้นได้ดังนี้ ทำความสะอาดโดยการใช้น้ำยาล้างตาหยอดลงไปบนผิวกะจกตา 4 – 5 หยด เป็นระยะๆ เพื่อให้น้ำยาล้างตาชะเอาสิ่งทีก่อความระคายเคืองออกไป รวมทั้งเศษขี้ตาหรือเศษขนของตัวน้องชิเอง (ข้อนี้เจอประจำ – -“) แต่ถ้าหากเป็นโรคตาอักเสบธรรมดาเพราะผงเข้าตา ก็ควรล้างตาด้วยกรดบิริกอ่อนๆ เช็ดรอบๆ ตาด้วยน้ำอุ่นๆ แล้วหยอดยารักษาน้องชิของเราในขั้นต้น
จมูก :: ส่วนสีดำของจมูกสุนัขจะสดใสเป็นมัน และชื้นอยู่เสมอ ถ้าหากพบว่าจมูกของน้องชิเกิดการแห้งตลอดเวลาและมัว นั้นคือจะบอกถึงอาการของน้องชิ น้องชิเกิดเจ็บป่วย สิ่งที่ต้องดูแลคือ ขี้มูกของน้องชิเราต้องสังเกตุอาจจะเป็นน้ำสีเหลืองหรือสีแดงทางรูจมูกมีลักษณะเหนียวๆ อยู่รอบจมูก หายใจออกเสียงแรงๆ และใช้เท้าตะกุยจมูกหรือไม่ ห้ามใช้วัตถุแหย่เข้าไปในรูจมูกของน้องชิเด็ดขาด (ขนาดเราเรายังไม่ชอบเลย..แล้วชิวาวาล่ะ?)
ปาก :: เมื่อผู้เลี้ยงมองเข้าไปในปากของน้องชิ เราจะต้องตรวจสอบหลายอย่าง โดยปกติแล้วเหงือกและด้านในของรินฝีปากจะมีสีชมพูเมื่อน้องชิมีสุขภาพดี (ลองสังเกตดูนะคะ) ฟังจะแน่นเป็นมันสีขาว หากน้องชิเกิดการเจ็บป่วยสิ่งที่จะต้องดูคือ เหงือกและเยื่อหุ้ม หากเกิดการผิดปกติจะมีสีซีด เหงือกมีสีแดงและมีเลือดออก เจ็บปวดในลักษณะต่างๆ คางห้อยตลอดเวลา น้ำลายมีเลือด หายใจมีกลิ่นเปรี้ยว ฟันหลุดและหัก มีหินปูนสะสมอยู่ในฟัน และมีวัตถุแปลกปลอมอุดอยู่ระหว่างฟัน น้องชิชอบตะกุยปากอาการเหล่านี้ เป็นอาการที่ผู้ดูแลจะต้องพาน้องชิไปหาหมอด่วน!!
ฟัน :: ปกติแล้วน้องชิฟันผุได้ยากมาก แต่ที่เห็นบ่อยคือเหงือกอักเสบ อาจเกิดจากฟันของน้องชิไม่สะอาด ขี้ฟันหมักหมมจนจับเป็นคราบสีเหลืองเกาะติดอยู่ที่ผิวฟัน หรือหินปูนนั่นเอง บางทีหินปูนมากและลุกลามไปถึงเหงือก ทำให้เหงือกอักเสบ มีกลิ่นปากจนกระทั่งฟันหลุดร่วงไปในที่สุด วิธีป้องกันการจับตัวของหินปูนควรให้น้องชิได้กินอาหารสำเร็จรูปที่เป็นเม็ดแห้ง หรือให้แทะกระดูกเสียบ้าง แต่ถ้าจะให้ดีจริงๆ ควรให้สัตวแพทย์ตรวจฟันทุกปีจะดีที่สุด
หู :: สำหรับสุนัขชิวาวาแล้วจะสวยรึไม่สวยนั้นต้องมีหูเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เป็นสง่าแก่ศีรษะ ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องควรระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่หูของน้องชิ เช่น น้ำ สบู่ ของแข็ง เห็บหรือหมัด เข้าไปในรูเพราะสิ่งเหล่านี้จะไปทำความระคายเคืองให้แก่หูของน้องชิ นานไปก็จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับหูเช่น หนองหรือฝีในหู ปกติหูหมาก็เช่นเดียวกับหูคน มีการสร้างขี้หูออกมาตลอดเวลา เพราะธรรมชาติสร้างมาให้เป็นการขับสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปรกปลอมที่อาจหลงเข้าไปอยู่ภายในให้ออกสู้ภายนอกได้ สุนัขบางตัวมีขี้หูมาก บางตัวมีขี้หูน้อย ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละตัว เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่จะต้องหมั่นตรวจดูด้วยสายตาว่ามีคราบไคลของขี้หูมากน้อยแค่ไหน มีหนองออกมาหรือไม่ ไม่มีเห็บหรือหมัด ไม่เป็นแผล หรือถ้าหูสกปรกก็ควรใช้สำลีชุบน้ำจนสะอาด แล้วเช็คด้วยน้ำมันพาราฟินอย่างใส ถ้าหากเป็นแผลหรือตุ่ม ก็ควรรีบรักษาก่อนที่จะเป็นมากจนหูไม่สวย (- – ง่ะ) หายน้องชิเกา หรือสะบัดหูมากควรจะนำน้องชิไปพบหมอ
ผิวหนังและขน :: ตามปกติแล้วขนของน้องชิจะมีลักษณะเงามัน ถ้าเลี้ยงดีและแปรงขนดี ผิวหนังจะอ่อนนุ่มไม่ย่น อาการที่บ่งบอกว่าผิวหนังผิดปกติ คือ มีสีแดง มีรอยข่วน ขนหลุดเป็นแห่งๆ ผิวหนังแห้งและย่น กลายเป็นชิม.ต้นไปเลย T.T (เกรียน)


น้องชิเป็นสุนัขขนาดเล็ก มีความคล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว และน้ำหนักตัว โตเต็มที่ไม่เกิน 2.5 – 2.7 กิโลกรัม น้องชิจะสูงคืบกว่าๆ หรือประมาณ 16 – 20 เซนติเมตร เป็นสุนัขในกลุ่ม TOY น้องชินั้นจะมีทั้งชนิดขนสั้นและขนยาว เราจะมาแนะนำลักษณะประจำพันธุ์ของสุนัขพันธุ์ชิวาวา ต่อไปนี้จะเป็นมาตรฐานที่ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยสมาคมสุนัขพันธุ์ชิวาวาแหล่งอเมริกา (AKC) เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1942 สุนัขชิวาวาทั้งหมดมีประมาณ 2 สายพันธุ์ แตกต่างกันตรงลักษณะของขน สำหรับเพื่อนคนไหนที่ต้องการที่จะนำน้องชิไปประกวดประชันความน่ารักของน้องชิ ดูตามนี้ได้เลยค่ะ
แบ่งลักษณะขนออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ชิวาวาชนิดขนเรียบและชิวาวาชนิดขนเกรียน

ชิวาวาชนิดขนเรียบ
ลักษณะทั่วไป : ตัวเล็ก ขนาดกะทัดรัด
ลักษณะส่วนตัว : เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่ตื่นตัว เคลื่อนไหวฉับไว มีพลัง และไม่สงบเสงี่ยมเจียมตัว
นิสัย : เบิกบานแจ่มใส ร่าเริง เฉลียวฉลาด ไม่โผงผาง หรือเก็บตัว
ศีรษะและกะโหลก : โค้งกลม กะโหลกศีรษะรูปทรงผลแอปเปิล (หัวทุย) ใบหน้าลีบ จมูกค่อนข้างเชิด สีจมูกเหมอนสีของลำตัว เช่น สีเทา สีตุ่น หรือสีช็อกโกแลต เป็นต้น แต่สำหรับสีทองหรือสีขาวอนุโลมให้มีจมูกสีชมพูได้
ตา : เต็มแต่ไม่โปนถลนออกมา ตาทั้งสองข้างอยู่ห่างกันพอดี มีสีเข้มเป็นประกาย สำหรับน้องชิสีขาวหรือสีทองอนุโลมให้มีนัยน์ตาสีอ่อนได้
หู : ใหญ่ กาง ตั้งตรงเวลาสนใจ แต่ปกติหูจะเอียงทำมุม 45 องศา เป็นหูลักษณะห่างกัน ไม่เบียดชิด
ปากและฟัน : ลักษณะสบกันแบบกรรไกร มีระดับดี ไม่ยื่นหรือหดกว่า
คอ : คอค่อนข้างโค้งลาดสู่ไหล่พองาม ขนคอเรียบ และอรุโลมให้ยาวกว่าขนลำตัวได้เล็กน้อย ไหล่ลาด หลังตรงและแบนพอควร ท้ายไม่ลาด หรือโงเกินไป อกลึกไม่กว้างแบนอย่างพันธุ์บูลด๊อก
ลำตัว : ลักษณะรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีส่วนยาวมากกว่าส่วนสูงเล็กน้อย น้องชิเพศเมียลำตัวสั้นกว่าน้องชิเพศผู้ ซี่โครงผายพอดีไม่กลมป่อง
ลำตัวส่วนหลัง : มีกล้ามเนื้อ ข้อเท้าโงพับพองาม ข้อส่วนบน (ข้อเข่า) จะหมุนไปมาสะดวก และอยู่ห่างจากกัน ต้องไม่บิดเข้าหือถ่างออก
เท้า : เล็ก นิ้วจิกพอดีไม่ยื่นอย่างเท้ากระต่าย และไม่สั้นอย่างเท้าแมว เล็บค่อนข้างยาวเนื่องจากเท้าเล็ก
หาง : ค่อนข้างยาว ยกสูง โค้งเหนือหลัง ห้ามม้วนใต้ท้อง ขนหางต้องสัมพันธ์กับลำตัว
ท่าเดิน การเคลื่อนไหว : ฉับ ไว มีพลัง ไม่เดินเขย่งหรือเดินแบบม้า กระดูกสันหลังเป็นเส้นตรงไม่แอ่น ลำตัวส่วนหลังมีกำลังส่งตัวดี เมื่อดูจากด้านหน้าและด้านหลัง เวลาเดินขาหน้าและขาหลังจะต้องไม่ชิดหรือถ่างกว้างออกเท้าต้องไม่บิดเข้า หรือเบนออก
ขน : สั้นเรียบแนบลำตัว นุ่ม เป็นมัน ขนใต้คอ ใต้ท้อง และข้างใบหูยาวบ้างไม่เป็นไร
สี : ทุกสี ทั้งสีเดียวและสีด่าง เช่น สีแดงทั้งตัว สีแบล็คแอนด์แทนสีขาวแดง สีขาว – เทา และสีแดงมีพวงมาลัยรอบคอ
น้ำหนัก : ตั้งแต่ 1 ถึง 6 ปอนด์ แต่ระหว่าง 2 – 4 ปอนด์ ถือว่าดีกว่า ถ้าลักษณะอื่นใกล้เคียงกัน ให้ถือว่าน้ำหนักน้อยกว่าเป็นที่พึ่งประสงค์
ลักษณะไม่พึ่งประสงค์ : หางสั้น หูตกพับไม่ตั้ง
น้องชิขนเกรียน
จะมีลักษณะเช่นเดียวกับลักษณะของน้องชิขนเรียบ แต่เรื่องของน้ำหนัก ชิวาวาชนิดขนเกรียนจะอนุโลมให้ถึง 8ปอนด์ ขนมีลักษณะนิ่ม เรียบติดลำตัว มีคลื่นได้เล็กน้อย ไม่หยิก ขนตามใบหู คอ และหางยิ่งยาวยิ่งดี มาตรฐานน้องชิชนิดเกรียน ตามข้อบังคับของสมาคมสุนัขพันธุ์ชิวาวาแห่งอเมริกาในปัจจุบัน มีดังนี้ค่ะ
ลักษณะทั่วไป : ตัวเล็ก ขนาดกะทัดรัด
ลักษณะส่วนตัว : เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่ตื่นตัว เคลื่อนไหวฉับไว มีพลัง และไม่สงบเสงี่ยมเจียมตัว
นิสัย : เบิกบานแจ่มใส ร่าเริง เฉลียวฉลาด ไม่โผงผาง หรือเก็บตัว
ศีรษะและกะโหลก : กะโหลกมีลักษณะกลมแบนคล้ายผลแอปเปิลเรียกว่า “แอปเปิลโดม” แก้มและขากรรไกรเล็กบาง ส่วนปากและจมูกสั้นปานกลางและมีลักษณะแหลมเล็ก รอยที่หน้าแงเห็นเป็นรูปร่างชัดเจน
ตา : ใหญ่ กลม ไม่โปน ดวงตาทั้งสองข้างอยู่ห่างจากกัน ศูนย์กลางของนัยน์ตาอยู่ในระนาบเดียวกันกับหูส่วนล่างสุดและฐานของรอยที่ หน้าแง ดวงตาสีดำเข้มหรือสีทับทิม ในตัวที่มีสีขนอ่อน ดวงตาอาจจะมีสีอ่อนก็ได้
หู : ใบหูกว้าง ผายออก ตั้งเอียงเป็นมุม 45 องศา หูทั้งสองข้างอยู่ห่างจากกัน ส่วนหูที่พับลงหรืออ่อนนุ่มนิ่มเป็นลักษณะที่ไม่พึ่งปรารถนา
ปากและฟัน : ขากรรไกรแข็งแรง ฟันบนเกยฟังล่างสนิทสม่ำเสมอเป็นระเบียบ ฟันบนทำมุมฉากกับขากรรไกร
ลำคอ : โค้งเล็กน้อย ยาวปลานกลาง
ลำตัว : ตั้งแต่ช่วงกระดูกหลังจะได้ระดับจากไหล่ไปถึงส่วนท้ายสะโพกจะยาวกว่าเท้าถึงตะโหงก ซี่โครงเรียบสมบูรณ์ อกมีความลึก
ลำตัวส่วนหลัง : มีกล้ามเนื้อ ข้อเท้าโงพับพองาม ข้อส่วนบน (ข้อเข่า) จะหมุนไปมาสะดวก และอยู่ห่างจากกัน ต้องไม่บิดเข้าหือถ่างออก
เท้า : เล็ก กระจุ๋มกระจิ๋ม ปลายเท้าไม่บิดเข้าหรือออก นิ้วเท้าแยกกันแต่ไม่ถึงกับแผ่ อุ้งเท้ามีเนื้อหนารองรับ เล็ก บาง แต่แข็งแรง ส่วนหลังข้อเท้าขามีลักษณะยืดหยุ่น ไม่มีลักษณะคล้ายเท้ากระต่ายหรือเท้าแมว เล็บสั้นพอดี
หาง : ยาวปานกลาง ชูตั้งขั้นและม้วนเล็กน้อย และตั้งเชิดบนแผ่นหลัง (หางรูปเคียว) ขณะเคลื่อนไหวต้องไม่จุกหรือตกลงต่ำกว่าแนวหลัง หางมีขนปุยเป็นแผ่น ช่วงกลางจะกว้างเล็กน้อยและเรียวไปหาปลายหาง
ท่าเดิน การเคลื่อนไหว : ฉับ ไว มีพลัง ไม่เดินเขย่งหรือเดินแบบม้า กระดูกสันหลังเป็นเส้นตรงไม่แอ่น ลำตัวส่วนหลังมีกำลังส่งตัวดี เมื่อดูจากด้านหน้าและด้านหลัง เวลาเดินขาหน้าและขาหลังจะต้องไม่ชิดหรือถ่างกว้างออกเท้าต้องไม่บิดเข้า หรือเบนออก
ขน : เกรียน เนื้อสันขนละเอียดนุ่ม ขนแนบเนื้อและเป็นมัน ขนชั้นในและขนแผงคออนุโลมได้
สี : สีใดก็ได้ หรือหลายสีผสมกัน
ขนาด : น้ำหนัก หนักได้ถึง 2.7 กิโลกรัม (6 ปอนด์) น้ำหนักที่เหมาะควรจะเป็น 1 – 1.8 กิโลกรัม (2 – 4 ปอนด์) หากน้องชิสองตัวมีลักษณะดีพอๆ กัน ตัวที่มีขนาดเล็กกว่าจะได้เปรียบกว่า
ลักษณะไม่พึ่งประสงค์ : ลักษณะใดๆ ที่แตกต่างไปจากจุดต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ถือเป็นลักษณะที่ไม่พึ่งประสงค์ทั้งสิ้น ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับระดับความมากน้องของลักษณะนั้นๆ
ข้อสังเกต : ลูกอัณฑะของน้องชิเพศผู้ ควรจะมีลักษณะสมบูรณ์และห้อยลงไปในถุงอัณฑะ
ชิวาวาชนิดขนยาว
ลักษณะทั่วไป : ตัวเล็ก ขนาดกะทัดรัด
ลักษณะส่วนตัว : เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่ตื่นตัว เคลื่อนไหวฉับไว มีพลัง และไม่สงบเสงี่ยมเจียมตัว
นิสัย : เบิกบานแจ่มใส ร่าเริง เฉลียวฉลาด ไม่โผงผาง หรือเก็บตัว
ศีรษะและกะโหลก : กะโหลกมีลักษณะกลมแบนคล้ายผลแอปเปิลเรียกว่า “แอปเปิลโดม” แก้มและขากรรไกรเล็กบาง ส่วนปากและจมูกสั้นปานกลางและมีลักษณะแหลมเล็ก รอยที่หน้าแงเห็นเป็นรูปร่างชัดเจน
ตา : ใหญ่ กลม ไม่โปน ดวงตาทั้งสองข้างอยู่ห่างจากกัน ศูนย์กลางของนัยน์ตาอยู่ในระนาบเดียวกันกับหูส่วนล่างสุดและฐานของรอยที่ หน้าแง ดวงตาสีดำเข้มหรือสีทับทิม ในตัวที่มีสีขนอ่อน ดวงตาอาจจะมีสีอ่อนก็ได้
หู : ใบหูกว้าง ผายออก ตั้งเอียงเป็นมุม 45 องศา หูทั้งสองข้างอยู่ห่างจากกัน ส่วนหูที่พับลงหรืออ่อนนุ่มนิ่มเป็นลักษณะที่ไม่พึ่งปรารถนา
ปากและฟัน : ขากรรไกรแข็งแรง ฟันบนเกยฟังล่างสนิทสม่ำเสมอเป็นระเบียบ ฟันบนทำมุมฉากกับขากรรไกร
ลำคอ : โค้งเล็กน้อย ยาวปลานกลาง
ลำตัว : ตั้งแต่ช่วงกระดูกหลังจะได้ระดับจากไหล่ไปถึงส่วนท้ายสะโพกจะยาวกว่าเท้าถึงตะโหงก ซี่โครงเรียบสมบูรณ์ อกมีความลึก
ลำตัวส่วนหลัง : มีกล้ามเนื้อ ข้อเท้าโงพับพองาม ข้อส่วนบน (ข้อเข่า) จะหมุนไปมาสะดวก และอยู่ห่างจากกัน ต้องไม่บิดเข้าหือถ่างออก
เท้า : เล็ก กระจุ๋มกระจิ๋ม ปลายเท้าไม่บิดเข้าหรือออก นิ้วเท้าแยกกันแต่ไม่ถึงกับแผ่ อุ้งเท้ามีเนื้อหนารองรับ เล็ก บาง แต่แข็งแรง ส่วนหลังข้อเท้าขามีลักษณะยืดหยุ่น ไม่มีลักษณะคล้ายเท้ากระต่ายหรือเท้าแมว เล็บสั้นพอดี
หาง : ยาวปานกลาง ชูตั้งขั้นและม้วนเล็กน้อย และตั้งเชิดบนแผ่นหลัง (หางรูปเคียว) ขณะเคลื่อนไหวต้องไม่จุกหรือตกลงต่ำกว่าแนวหลัง หางมีขนปุยเป็นแผ่น ช่วงกลางจะกว้างเล็กน้อยและเรียวไปหาปลายหาง
ท่าเดิน การเคลื่อนไหว : ฉับ ไว มีพลัง ไม่เดินเขย่งหรือเดินแบบม้า กระดูกสันหลังเป็นเส้นตรงไม่แอ่น ลำตัวส่วนหลังมีกำลังส่งตัวดี เมื่อดูจากด้านหน้าและด้านหลัง เวลาเดินขาหน้าและขาหลังจะต้องไม่ชิดหรือถ่างกว้างออกเท้าต้องไม่บิดเข้า หรือเบนออก
ขน : น้องชิจะมีลักษณะขนยาว เนื้อเส้นขนนุ่มละเอียด (ไม่กระด้าง) ไม่มีลักษณะเป็นเส้นแบบ FLAT หรือเป็นลอน WAVY เส้นขนของน้องชิต้องไม่แนบและไม่หยิก ขนเส้นเล็กๆ ที่หู เท้า และขา ขนที่มีลักษณะคล้ายกางเกงชั้นในแบบยืดชนิดยาว PANTS บริเวณส่วนหลังของลำตัว ขนแผงคอของน้องชิเป็นมีลักษณะที่พึงประสงค์ หางต้องยาว มีขนเต็ม ลักษณะเป็นพู่สวยงาม

ขอบคุณ ข้อมูลจาก www.chihuahua.in.th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Photos

Free Advertising for your Business | Published Ads.

Free tv online

Free tv online
แม่บอกว่าผมเปงหมาอ้วนงับ